หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ

Academic > M.AE

จากยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) ด้านการสร้างความสามารถและการแข่งขัน ได้กำหนดให้ อุตสาหกรรมการบินและอวกาศเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมแห่งอนาคตของชาติ ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลได้มีการสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการเติบโตของอุตสหกรรมการบินและอวกาศในอนาคต และออกนโยบายสนับสนุนการลงทุนของอุตสาหกรรม ที่เกี่ยวข้อง ดังเช่นที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ได้มีนโยบายส่งเสริมการลงทุนของคลัสเตอร์สำหรับกิจการที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและอุตสาหกรรมแห่งอนาคต เช่น อุตสาหกรรมอากาศยาน อวกาศ อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ อุปกรณ์อัตโนมัติและหุ่นยนต์

นอกจากนี้จากการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “แนวทางการผลิตบุคลากรสำหรับอุตสาหกรรมการบินและอวกาศในอนาคต” เพื่อรับฟังวิสัยทัศน์และข้อคิดเห็นจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง มีข้อคิดเห็นว่า
– ในช่วง 10 – 20 ปีข้างหน้า อุตสาหกรรมการบินและอวกาศจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากและอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน จะมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบการผลิตแบบอัตโนมัติ การใช้ระบบหุ่นยนต์เคลื่อนที่ เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต และระบบปัญญาประดิษฐ์

– ในอนาคตจะมีการประยุกต์อากาศยานไร้คนขับ (UAV) หรือ โดรน (Drone) ในอุตสาหกรรมหลากหลายและในชีวิตประจำวันอย่างมากและกว้างขวาง เช่น การประยุกต์ในอุตสาหกรรมการเกษตร การขนส่ง การป้องกันประเทศ การก่อสร้าง การสำรวจ และการเฝ้าระวัง เป็นต้น ในการสร้างความสามารถและการแข่งขันตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ประเทศไทยควรจะพัฒนาอุตสาหกรรมอากาศยานไร้คนขับหรือโดรนให้มีระบบนิเวศที่ครบวงจร ตั้งแต่ การวิเคราะห์ การออกแบบ การผลิต การซ่อมบำรุง และการทดสอบ
– เทคโนโลยีสีเขียว (Green Technology) จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในอุตสาหกรรมการบินและอวกาศอย่างมาก ทั้งในเรื่องของเทคโนโลยีอากาศยาน ในอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน และในการบริการการขนส่งทางอากาศ

จากการพัฒนาทางเทคโนโลยีด้านการบินและอวกาศในระดับนานาชาติ ระบบการศึกษา
จึงเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งที่จะต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมการบินและอวกาศและอุตสาหกรรม
ที่เกี่ยวของประเทศและจะนำไปสู่การพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต
ภาควิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาภาคพลเรือนแห่งแรกที่เปิดทำการสอนด้านวิศวกรรมอากาศยานและมีอาจารย์ที่จบการศึกษาระดับปริญญาเอกด้านวิศวกรรมอากาศยานหลากหลายแขนงจึงได้เปิดหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา
เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีทั้งองค์ความรู้ขั้นสูงและทันสมัยในสาขาวิศวกรรมการบินและอวกาศ
และมีความสามารถด้านการค้นคว้าวิจัยทั้งเชิงทฤษฎีและเชิงประยุกต์ การพัฒนานวัตกรรม
การวิเคราะห์เชิงลึก และการแก้ปัญหางานภาคอุตสาหกรรม โดยไม่มุ่งเน้นด้านการบินหรือ
ด้านใดเพียงด้านเดียว หากแต่เปิดกว้างไปถึงอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น
อุตสาหกรรมยานยนต์ เป็นต้นเพื่อตอบสนองต่อการพัฒนาของอุตสาหกรรมทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ

รายละเอียดหลักสูตร

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์สมัครเข้าศึกษาและรายละเอียดเพิ่มเติมเฉพาะสาขาวิชา       
      1. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า สาขาวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง

  1. ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รายละเอียดคุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา ระดับปริญญาโท [ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

หลักฐานและเอกสารประกอบการสมัคร นอกจากหลักฐานและเอกสารประกอบการสมัครตามประกาศของบัณฑิตวิทยาลัย ให้ผู้สมัครส่งเอกสารประกอบการสมัครเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ (โดยเอกสารทั้งหมดยื่นพร้อมใบสมัครต่อทางบัณฑิตวิทยาลัย)

  1. หนังสือแสดงความจำนงเข้าศึกษา (Statement of Purpose) แสดงภูมิหลังส่วนตัวของผู้สมัคร จุดประสงค์และเหตุผลในการศึกษา แผนการศึกษา ความสนใจและความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน หัวข้อและรายละเอียดงานวิจัยที่สนใจ
  2. จดหมายรับรอง (Letter of Recommendation) จำนวน 2 ฉบับ จากอาจารย์ที่เคยศึกษาด้วย หรือผู้บังคับบัญชา [ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ]

      3. แบบฟอร์มรับรองจากอาจารย์ที่ปรึกษา (MEngAero-อท01) จำนวน 1 ฉบับ โดยอาจารย์ภายในภาควิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ ที่ผู้สมัครสนใจให้เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาในการทำวิจัย ผู้สมัครสามารถพิจารณาคณาจารย์ภาควิชา และหัวข้อวิจัย และดาวน์โหลดแบบฟอร์มรับรองจากอาจารย์ที่ปรึกษา
[ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ภาคปกติ แบบเหมาจ่าย โดยภาคแรกที่เข้าศึกษา จำนวน 22,700 บาท และภาคการศึกษาต่อไป จำนวน 19,500 บาท รายละเอียดตามประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ [ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ]

แผนการเรียนและรายวิชาในหลักสูตร ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2565 [ คลิกที่นี่ ]
แบบฟอร์มจดหมายรับรอง [ คลิกที่นี่ ]
แบบฟอร์มรับรองอาจารย์ที่ปรึกษา [ คลิกที่นี่ ]

 ภาควิชา เช่น ทุนวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิศวกรรมการบินและอวกาศ ได้แก่ ทุนด้านวิชาการ ทุนด้านนวัตกรรม ทุนด้านอุตสาหกรรม กรอบวงเงินไม่เกิน 200,000 บาท [ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ]

บัณฑิตวิทยาลัย เช่น ทุนการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา เพื่อการตีพิมพ์ผลงานวิทยานิพนธ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ [ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

คณะวิศวกรรมศาสตร์ เช่น ทุนโครงการส่งเสริมจากการศึกษาระดับปริญญาโท แผนการเรียนแบบ ก เพื่อยกเว้น ค่าธรรมเนียมการศึกษา ค่าใช้จ่ายในการนำเสนอผลงานทางวิชาการ วงเงินไม่เกิน 50,000 บาท
[ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ]

Accordion Content